วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ชี้ตำหนิจุด พระนางพญา พิษณุโลก พิมพ์เข่าโค้ง องค์ 25 ล้านบาท

พระนางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา ผสมผงว่านเกสรดอกไม้นานาชนิดและแร่กรวดทราย แร่เท่าที่พบจะมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3สี คือ แร่สีดำ แร่สีน้ำตาล และ แร่สีขาวขุ่น มีว่านดอกมะขามปะแต้มอยู่ในเนื้อพระ ลักษณะโดยทั่วไปเนื้อพระจะมีความแห้งผาก พระนางพญาจัดอยู่ในพระเบญจภาคี มีอยู่ 6 พิมพ์ 1 พิมพ์เข่าโค้ง 2 พิมพ์เข่าตรง 3 พิมพ์อกนูนใหญ่ 4 พิมพ์สังฆาฏิ 5 พิมพ์อกแฟบหรือพิมพ์ทรงเทวดา 6 พิมพ์อกนูนเล็ก หลักฐานการเปิดกรุครั้งแรกไม่มีใครทราบและหลักฐานยืนยันแน่ชัด เล่าต่อๆกันมาว่า เมื่อปี พ.ศ.2444 ในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางวัดนางพญาได้จัดสร้างศาลาและซุ้มรับเสด็จฯ บริเวณด้านหน้าของวัด ขณะที่คนงานกำลังขุดหลุมฝังเสาได้พบพระนางพญาฝังอยู่ในดินจำนวนมาก เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จมาที่วัดนางพญา ทางวัดจึงได้นำพระนางพญาที่ขุดได้ นำขึ้นทูลเกล้า ถวาย เล่ากันว่าในหลวงได้พระราชทานแจกจ่ายพระนางพญาแก่ข้าราชบริพาร และผู้ติดตามเสด็จในครั้งนั้นทุกคน พระส่วนที่เหลือแจก สันนิษฐานว่ามีการนำเอาลงมาที่กรุงเทพฯ ต่อมาภายหลัง มีผู้พบนางพญาจำนวนไม่มากนักแตกกรุออกมาพร้อมกับพระอย่างอื่นที่กรุงเทพฯ และธนบุรี บางวัด เช่น ที่วังหน้า กรุวัดอินทร์ กรุวัดราชบรูณะ(วัดเลียบ) กรุวัดสังกระจาย สันนิษฐานกันว่าเป็นพระฝากกรุ คงจะนำมาจากพิษณุโลก เมื่อ ปี พ.ศ.2444 มาบรรจุไว้ในภายหลัง เพราะ ทั้งพิมพ์ทั้งเนื้อพระเหมือนกันทุกอย่าง