วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดทอง พิมพ์ยันต์ยุ่ง ราคา 1 ล้านบาท

หลวงปู่ทับ  เกิดเมื่อ 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 29 พฤษภาคม 2390 ณ บ้านคลองชักพระ บางกอกน้อย เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทที่วัดช่างเหล็ก หลังบวชแล้วได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดทอง และได้ร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐานและวิชาพุทธาคม ไสยศาสตร์มิได้ขาด หลวงปู่ทับมรณภาพเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2456 สิริอายุ 66 ปี พรรษา 45 พระเครื่องที่หลวงปู่ทับสร้างขึ้น ส่วนมากจะเป็นแบบลอยองค์นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ที่ล้วงปิดทวาร จะล้วงลงทางด้านในไม่ผ่านหน้าแข้ง ด้านข้างองค์พระไม่ปรากฏรอยตะเข็บเลย เพราะท่านสร้างด้วยวิธีปั้นหุ่นด้วยเทียนขี้ผึ้งทีละองค์แล้วจึงใช้ดินเหนียว ประกอบด้านนอก หลังจากนั้นจึงเทโลหะที่หลอมละลายผ่านช่องทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนสลายตัวสำรอกออกทางรูที่เจาะไว้ เหลือแต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระแทน นอกจากองค์พระจะไม่มีรอยตะเข็บแล้ว ยังไม่มีความเหมือนกันเลยทั้งรูปองค์ และลวดลายของอักขระยันต์ การกำหนดเลขยันต์ที่จะบรรจุลงบนองค์พระนั้น หลวงปู่ท่านได้เลือกอักขระที่เหมาะสม มีความหมาย มีอำนาจแห่งพุทธาคม บรรจุลงตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เว้นช่องไฟได้เหมาะเจาะสวยงาม เนื้อพระที่มีความนิยมสูง ได้แก่ เนื้อสำริดเงิน ซึ่งปัจจุบันนี้หายากมาก

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ราคา 5 ล้านบาท

 พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง ประวัติพระท่ากระดาน สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างมิใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง ๑๑ ตน  แต่มีฤๅษีอยู่ ๓ ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น แหล่งที่พบพระท่ากระดานในครั้งแรกๆ นั้นพบอยู่ที่วัดร้างในตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และสถานที่แห่งนี้เองเป็นแหล่งกำเนิดพระท่ากระดาน ต่อมาจึงเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระท่ากระดาน" ตามตำบลที่พบ การขุดหาพระท่ากระดานนั้นได้มีคนขุดพบพระท่ากระดานกันมานานแล้ว และขุดพบกันต่อมาเรื่อยๆ ส่วนมากได้กันครั้งละไม่กี่องค์ พบกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณวัดร้างทั้ง 4 วัด คือวัดบน วัดกลาง วัดล่าง และวัดต้นโพธิ์ ต่อมาพบที่ถ้ำใกล้ๆ นั้นอีกคือที่ถ้ำลั่นทม ต่อมาได้มีการขุดหาอย่างจริงจังที่ตำบลท่ากระดานอีกในปี พ.ศ.2495-2496 พระที่พบในตำบลท่ากระดานนี้จะเรียกกันว่า "พระท่ากระดานกรุเก่า" พระที่พบเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงทั้งหมด บางองค์จะมีการปิดทองมาแต่ในกรุ พระส่วนใหญ่จะมีสนิมไขขาวคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง พระท่ากระดาน มีพุทธศิลปะแบบสกุลช่างอู่ทองหน้าแก่ อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 พุทธคุณเด่นทางด้านมหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี และโชคลาภ

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

พระร่วงหลังรางปืน องค์ละ 5 ล้านบาท

จากซ้ายไปขวาคือ 1พระร่วงหลังรางปืนพิมพ์แก้มปะ 2พระร่วงหลังรางปืนพิมพ์ใหญ่ฐานสูงครับ พระร่วงหลังรางปืน แตกกรุเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ จากบริเวณหน้าพระปรางค์องค์ใหญ่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (เชลียง) จ.สุโขทัย เชื่อว่าเมื่อขอมเรืองอำนาจได้เคยปกครองดินแดนแถบนี้ ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม และได้สร้างพระพิมพ์นี้ไว้ พระที่พบมีจำนวนไม่เกิน ๒๐๐ องค์ และกว่าครึ่งหนึ่งเป็นพระที่ชำรุดเสียหายเป็นศิลปะเขมรยุคบายน อยู่ในลวดลายของกรอบซุ้ม ลักษณะของยอดซุ้มเป็นลายกนกแบบแบบซุ้มกระจังเรือนแก้ว ด้านหลังขององค์พระพิมพ์นี้มีลักษณะพิเศษ คือมีรางร่องกดลึกลงไป ทำให้ด้านหลังเป็นรางร่องยาวไปตามองค์พระ นักนิยมพระเครื่องในสมัยแรกที่พระแตกกรุออกมาใหม่ๆ จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า พระร่วงหลังกาบหมาก ต่อมาได้มีผู้นำพระพิมพ์นี้ไปใช้ติดตัว ทำให้เกิดความแคล้วคลาดจากภยันตรายในเรื่องปืน มีประสบการณ์ ยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า ยิงไม่ถูก ทำให้ผู้คนในสมัยต่อมาเรียกพระพิมพ์นี้ว่า พระร่วงหลังรางปืน แต่ก็มีอีกกรณีหนึ่งเชื่อว่า เพราะด้านหลังองค์พระที่เป็นร่องและมีลายแบบกาบหมากนั้น มีลักษณะคล้ายร่องปืนแก๊บ จึงเรียกกันว่า “หลังรางปืน” ลักษณะการสร้างเป็นการสร้างแบบเบ้าประกบคือการนำไม้มาประกบด้านหลังโดยการเปิดช่องระบายอากาศด้านบนของแม่พิมพ์ไว้นิดหนึ่งแล้วจับคว่ำลงในแนวดิ่งและเทตะกั่วที่หลอมจนเหลวข้นโดยเทจากฐานไหลไปสู่ห้วและจับไม้ประกบที่ยื่นเลยฐานไว้ขณะเทเพราะในช่วงนั้นตะกั่วจะมีความร้อนมากในขณะเทตะกั่วจะไหลจากฐานไปเรื่อยๆพร้อมกับไร่อากาศออกทางช่องด้านหัวที่เปิดไว้นิดหนึ่งทำให้พระออกมาสวยงามคมชัด หลังจากแห้งแล้วก็ตัดส่วนเกินของตะกั่วที่ยื่นติดไม้ประกบตรงฐานออกทำให้เห็นรอยตัดและเห็นผิวระดับการเทตะกั่วอย่างเห็นได้ชัดเมื่อพระบรรจุกรุผ่านกาลเวลหลายร้อยปี ตะกั่วคายน้ำบวกกับความชื้นในกรุทำให้เกิดสนิม และไขสีขาว บางส่วนจะเห็นสนิมปนไขติดตามองค์พระ เป็นลักณะธรรมชาติของพระลงกรุครับ สำหรับพระที่มีสนิมแดงขึ้นเยอะๆผิวพระจะเกิดรัดตัวเป็นรอยลักษณะคล้ายรอยตีนกา และในบางส่วนจะเห็นรอยแตกแบบตะข่ายใยแมงมุมแล้วแต่จะพูดเปรียบเทียบกันไปดูรูปแล้วจะรู้ครับ การแตกแบบตะข่ายใยแมงมุมนี้ จะมีลักณะเล็กมากมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็นต้องใช้กล้องซูมสำหรับดูเนื้อพระครับถึงจะเห็น บางองค์เส้นรอยลายไม้หรือเส้นกาบหมากติดไม่ชัดหรือแทบไม่เห็นเลยแต่ถ้าเอียงให้ได้แสงเงาที่พอเหมาะก็จะเห็นครับคือยังไงก็ต้องมี